วางแผนเก็บเงินเมื่อเริ่มทำงาน

Move Enterprise  > Finance >  วางแผนเก็บเงินเมื่อเริ่มทำงาน

วางแผนเก็บเงินเมื่อเริ่มทำงาน

0 Comments
วางแผนเก็บเงิน

เมื่อเริ่มทำงานและได้เงินเดือนเดือนแรกก็รู้สึกถึงความภาคภูมิใจที่สามารถทำงานหาเงินให้ตัวเอง และอยากจะเก็บเงินในทุกเดือน แต่เงินเดือนเริ่มต้นก็อาจจะน้อยนิดจนไม่รู้จะเก็บอย่างไร วันนี้จะมาแชร์ทริคเกี่ยวกับการวางแผนเก็บเงินสำหรับคนเริ่มทำงานใหม่ 

  1. การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย  จริงๆ  แล้ววิธีการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ตอนเรียนคุณครูก็แนะนำให้เด็กๆได้เรียนรู้และลองทำ เพื่อให้สามารถเก็บเงินและบริหารเงินให้เป็น จุดเริ่มต้นของการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายนั้น  เพื่อให้รู้ว่าใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง เป็นค่าใช่จ่ายฟุ่มเฟือยมากน้อยเพียงใด เราสามารถเก็บเงินออมได้เดือนละเท่าไร
  2. ตั้งเป้าเงินออม ก่อนที่จะออมเงินเราต้องตั้งเป้าว่าจะออมเป็นจำนวนเท่าไหร่ อาจจะมีขึ้นต่ำ 5% ของรายได้ และต้องเก็บก่อนใช้ เพราะถ้าใช้ก่อนเก็บรับรองได้เลยไม่มีเงินเหลือเก็บอย่างแน่นอน 
  3. เป้าหมายของการเก็บเงิน ชีวิตเราต้องมีเป้าหมายเสมอ เช่นเรียนคณะนี้จบแล้วก็มีเป้าหมายว่าจะทำงานอะไร การเก็บออมเงินก็เช่นเดียวกัน ต้องมีเป้าหมายว่าจะเก็บเงินไว้ทำอะไร เรียนต่อ ซื้อบ้าน ซื้อรถ เพื่อให้เป้าหมายนั้นเป็นแรงบันดาลใจขับเคลื่อนให้เขามีพลังและแรงกายในการทำงานหาเงิน แล้วเก็บออมเพื่อให้ทำตามเป้าหมายเราให้สำเร็จ

เริ่มออมอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

  1. สำรองเงินไว้เผื่อฉุกเฉินอย่างน้อย 3 – 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน ซึ่งเงินก้อนนี้จะเป็นเงินที่มีไว้เผื่อเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น อุบัติเหตุหรือตกงาน แนะนำว่าให้ออมเงินในส่วนนี้ไว้ในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง เช่น บัญชีออมทรัพย์ บัญชีฝากประจำเผื่อฉุกเฉิน หรือนำไปลงทุนในกองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้นที่สามารถไถ่ถอนได้ทุกวันทำการ เป็นต้น
  2. สำรวจความต้องการเรื่องประกันของตัวเอง เช่น ลองสำรวจตัวเองว่าเรามีภาระที่ต้องดูแลรับผิดชอบใครบ้างหรือไม่ โดยมากคนเริ่มต้นทำงานมักจะเป็นคนโสด ไม่มีภาระ ซึ่งถ้าไม่มีภาระ ในช่วงต้นก็อาจจะยังไม่ต้องทำประกันชีวิต แต่ถ้าคุณเป็นลูกคนโต ต้องดูแลพ่อแม่ ต้องเลี้ยงน้อง ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ นั่นก็แปลว่า หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันจากไปก่อนวัยอันควร ก็จะมีคนลำบาก อย่างนี้ต้องมาพิจารณาทำประกันชีวิตที่ได้ทุนประกันหรือความคุ้มครองประมาณ 5 เท่าของรายจ่ายที่คุณต้องรับผิดชอบต่อปี เป็นต้น ส่วนประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุ ต้องทบทวนสวัสดิการที่มีอยู่ว่าเพียงพอตอบโจทย์ความต้องการหรือไม่

ดังนั้นการเก็บออมเงินก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของแต่ละคนซึ่งจะต้องมีความชัดเจนว่าต้องการใช้เงินก้อนนี้ไว้ทำอะไร ใช้ตอนไหนและใช้เท่าไหร่ แล้วค่อยเลือกว่าจะเก็บไว้ที่ไหน เพราะวิธีการเก็บเงินแต่ละแบบตอบโจทย์เป้าหมายการเงินแตกต่างกัน